ภาพรวม ของ Crop wild relative

สายพันธุ์ป่าของพืชปลูกหรือ Crop Wild Relatives (CWR) ที่รวมถึงบรรดาพืชสายพันธุ์ลูกที่เกิดขึ้นและพืชสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความสำคัญสำหรับการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสำหรับระบบนิเวศน์เกษตรที่ยั่งยืน CWR เป็นตัวพิสูจน์ถึงความมั่นคงทางอาหาร ในสถานการณ์ที่ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง และระบบนิเวศวิทยาที่ไม่มีเสถียรภาพ Nikolai Vavilov ซึ่งเป็นนักพฤษศาสตร์ชาวรัสเซี่ยน และเป็นผู้หนึ่งที่จุดประกายความสำคัญของ CWR ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 พันธุกรรมของCWR ถูกนำมาใช้โดยมนุษย์มาเป็นพันปีแล้ว เพื่อปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของพืช เกษตรกรใช้วิธีการดั่งเดิมในการปรับปรุงพันธุ์พืช ตัวอย่างเช่น ในเม็กซิโก ข้าวโพดพันธุ์ป่า (Zea mexicana) จะถูกปลูกเป็นแถวข้างๆข้าวโพดพันธุ์เพาะปลูก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผสมข้ามตามธรรมชาติและช่วยปรับปรุงผลผลิต ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบัน นักปรับปรุงพันธุ์ได้ใช้ยีนของ CWR เพื่อปรับปรุงให้เกิดความหลากหลายของพืชเช่นข้าว (Oryza sativa) , มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) และพืชตระกูลถั่ว CWR ให้ยีนที่เป็นประดยชน์อย่างมากแก่พืชปลูกและพันธุ์พืชใหม่ๆของพืชปลูกหลักในปัจจุบันมียีนของพันธุ์ป่าติดมาด้วย ดังนั้น CWR จึงเป็นพืชป่าที่สัมพันธ์กับชนิดพืชที่มีความสำคัญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจทั้งในแง่ อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์ พืชที่ใช้เป็นยา เครื่องปรุงรส ไม้ดอก ไม้ป่า และพืชที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมัน เส้นใยและพืชอื่นที่มีลักาณะที่เป็นประโยชน์ เราสามารถเรียก CWR ถูกเรียกว่าเป็น “พืชป่าที่มีการนำมาใช้ทางอ้อมโดยอาศัยความใกล้ชิดของยีนและความสัมพันธ์กับพืชที่กำลังปลูก”